ประวัติโรงเรียน ของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยนายวิกรม กรมดิษฐ์ เป็นผู้บริจาคพื้นที่ 25 ไร่ และเริ่มวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2542 โดยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้มอบหมายให้นายพูนทรัพย์ วัฒนไชย มาบริหารงานและต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี

  • ปีการศึกษา 2542 เป็นการเปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจากที่โรงเรียนอื่นๆเปิดไปแล้วประมาณ 2 สัปดาห์ มีจำนวนนัก เรียนทั้งหมด 22 คน โดยใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทุกอย่างเช่นเดียวกับ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และในปีแรกโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยส่งครูมาช่วยสอน 3 วิชา และทางอมตะจ้างครูมาช่วยสอน สภาพโดยทั่วไปของโรงเรียน แห้งแล้ง เป็นป่าหญ้าคา ถนนหนทาง ไฟฟ้า น้ำประปา รวมถึงงบประมาณต่างๆก็ไม่มี ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จากชุมชนบริเวณนี้ คอยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ
  • ปีการศึกษา 2543 เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 100 คน ปีการศึกษานี้ได้รับครูอัตราจ้างมาจำนวน 4 คน ส่วนอุปกรณ์การเรียนการสอนทั้งหมดจึงได้รับความอนุเคราะห์จากทางอมตะ และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรวมถึงชุมชนในบริเวณนี้ ทางอมตะและโรงงานช่วยสร้างโรงอาหารให้ 1 หลัง
  • ปีการศึกษา 2544 เปิดรับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 160 คน ในปีการศึกษานี้ ได้ครูอัตราจ้างเพิ่มขึ้นอีก 8 อัตรา และทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ส่งครู มาช่วยสอน อีก 2 ท่าน และได้รับความร่วมมือจากท่านผู้ปกครองและชุมชนในการจัดทำห้องคอมพิวเตอร์ 1 ห้อง เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้กับนักเรียนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน
  • ปีการศึกษา 2545 พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สร้างอาคารเรียนชั่วคราวมอบให้โรงเรียน 1 หลังให้ชื่ออาคารว่า อาคารจุลานนท์ 1 พร้อมสร้างสนามบาสเกตบอล 1 แห่ง เปิดรับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 4 ห้องเรียน และเป็นปีแรกที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สายการเรียน คือ วิทย์-คณิต และสายศิลป์ – ภาษา ในปีการศึกษาได้มีอาคารชั่วคราวเพิ่มขึ้น อีก 1 หลัง จำนวน 6 ห้องเรียนอาคารห้องสมุด และห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 1 หลัง และห้องน้ำหญิง จำนวน 6 ห้องโดยท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ บริจาคพร้อมโต๊ะ เก้าอี้ จากคุณสุรพล เตชะหรูวิจิตร
  • ปีการศึกษา 2546 ท่านพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มอบให้พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ พลโทเฉลียว อักษรดี พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์ สร้างอาคารเรียน 4 ห้อง พร้อมสนามบาสเกตบอล 1 สนาม ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้น ม.5 จำนวน 2 แผนการเรียน คือ วิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา ม.4 จำนวน 3 แผนการเรียน คือวิทย์ – คณิต และศิลป์ – ภาษา และ อังกฤษ – สังคม รับนักเรียนชั้น ม. 1 จำนวน 3 ห้องเรียน สร้างห้องดนตรีไทย 1 ห้อง และสนามวอลเลย์ 2 สนาม ในปีการศึกษา นี้มีครูจำนวน 24 คน และนักเรียนจำนวน 564 คน
  • ปีการศึกษา 2547 นายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้มอบหมายให้ พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ ประสานงานกับ พลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงษ์และนายพูนทรัพย์ วัฒนไชย ผู้บริหารโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี เรื่องพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษได้ให้ความอนุเคราะห์บริจาคเงินจำนวน 1,000,000 บาทเพื่อสร้างอาคารชั่วคราว 1 หลัง 5 ห้องเรียน และนายแพทย์ประสพ รัตนกร ได้ให้ชื่ออาคารเรียนนี้ว่า “อาคารศึกษาพัฒนามูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์” ต่อมาคณะผู้ปกครองนักเรียน ได้ให้ความอนุเคราะห์ร่วมจัดสร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 เพื่ออำนวยความสะดวกทำกิจกรรมในร่มของนักเรียน พร้อมกันนี้ ได้จัดสร้างอ่างล้างหน้าจำนวน 24 อ่าง ให้กับนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี อีกด้วย
  • ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับความอนุเคราะห์จาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โดยการประสานงานของผู้อำนวยการสมหมาย วัฒนคีรี อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กับนายสิทธิรักษ์ จันทร์สว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเรื่องการสร้างอาคารอเนกประสงค์หลังเก่า ซึ่งโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้งบประมาณในการสร้างอาคารใหม่ จึงรื้ออาคารหลังเก่า แต่ด้วยความห่วงใย ที่ทราบว่าโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ยังไม่มีอาคารอเนกประสงค์เพียงพอที่จะรองรับการทำกิจกรรมให้กับนักเรียน จึงได้ขออาคารนี้ กับผู้รับเหมาให้กับโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ซึ่งก่อนหน้านี้โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ขายให้กับผู้รับเหมาไปแล้วทั้งนี้ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้รับความอนุเคราะห์เรื่องการขนย้าย โครงการอเนกประสงค์และอิฐตัวหนอน จากพลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์กับพลโทเนาวรัตน์ ทองคำวงศ์ ด้วยการนำทหารมาช่วยเหลือ ทำให้ภารกิจนั้นสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
  • ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ได้รับงบในการสร้างอาคารเรียนถาวรจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 5,900,000 บาท ในการสร้างอาคารเรียนถาวร 4 ชั้น 12 ห้องเรียน

ใกล้เคียง

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นครศรีธรรมราช โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สระบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพชรบูรณ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี http://maps.google.com/maps?ll=13.0185883,%7B%7B%7... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.0185... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaigoodview.com/node/17197 http://www.globalguide.org?lat=13.0185883&long=%7B... http://www.wikimapia.org/maps?ll=13.0185883,%7B%7B... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.sk.ac.th/ http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&t...